94 ปี วิชชาธรรมกาย ข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ

“ธรรมกาย” คือ กายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, “วิชชา” แปลว่า ความรู้แจ้ง, “วิชชาธรรมกาย” แปลว่า ความรู้แจ้งเรื่องธรรมกาย https://dmc.tv/a12131

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข่าวพระพุทธศาสนา
[ 9 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
94 ปี วิชชาธรรมกาย จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
 
หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
 
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
 
            “ธรรมกาย” คือ กายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, “วิชชา” แปลว่า ความรู้แจ้ง, “วิชชาธรรมกาย” แปลว่า ความรู้แจ้งเรื่องธรรมกาย, หมายถึง ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งด้วยธรรมจักขุของพระธรรมกาย อันเป็นแก่นแท้ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา สามารถกำจัดทุกข์ได้เป็นชั้นๆ จนหมดกิเลส เข้าถึงบรมสุข คือ พระนิพพาน
 
คำว่า “ธรรมกาย” มีการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เมื่อพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาจนได้บรรลุธรรมกาย เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2460 ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในกลางพรรษาที่ 12 ของท่าน
 
หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ เกิดในสมัยรัชการที่ 5 ท่านจึงตัดสินใจออกบวช เมื่ออายุได้ 22 ปี ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ณ วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์
 
หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
 
หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
 
ศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติ
 
นับแต่วันแรกที่บวชท่านก็เริ่มฝึกธรรมปฏิบัติทุกวันตลอดมา ควบคู่ไปกับการเรียนคันถธุระ หลังจากบวชได้ 7 เดือนเศษ จึงเข้ามาเรียนในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นเวลาถึง 11 พรรษา จนเชี่ยวชาญภาษาบาลี เมื่อสามารถแปลคัมภีร์มหาสติปัฏฐานได้ดังที่เคยตั้งใจแล้ว จึงตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนาธุระอย่างจริงจัง
 
ท่านได้มีโอกาสศึกษาธรรมปฏิบัติจากพระอาจารย์หลายท่าน ดังนี้ พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี, หลวงปู่เนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี, พระสังวรานุวงษ์ วัดราชสิทธาราม กรุงเทพฯ, พระครูญานวิรัติ (โป๊) วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ, พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ ธนบุรี ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอาจารย์ที่ทรงคุณในทางปริยัติ ปฏิบัติ ศีลาจารวัตรงดงาม และมีลูกศิษย์มากมาย
 
การเข้าถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง
 
การเข้าถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง
 
บรรลุธรรมกาย 
 
            ในวันเพ็ญเดือน 10 ระหว่างกลางพรรษาที่ 12 ของหลวงปู่วัดปากน้ำ หลังกลับจากบิณฑบาต ท่านได้เข้าปฏิบัติธรรมในอุโบสถ ท่านได้หลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” จนกระทั่งใจหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสสว่างอยู่ที่ศูนย์กลางกาย รู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก แม้ขณะช่วงฉันเพลดวงใสก็ยังคงอยู่ที่ศูนย์กลางกาย หลังจากฟังพระปาฏิโมกข์ ทบทวนศีล 227 ข้อของพระ ในช่วงเย็นท่านจึงได้มานั่งสมาธิต่อ โดยใจยังอยู่ในกลางดวงใสสว่างที่ศูนย์กลางกาย ทำใจหยุดนิ่งไปจนกระทั่งดวงสว่างใสมากยิ่งขึ้น และมีเสียงดังมาจากดวงสว่างนั้นว่า “มัชฌิมา ปฏิปทา” พร้อมกับมีจุดสว่างใสอยู่ในกลางดวงสว่างนั้น ท่านจึงมองไปที่จุดสว่างนั้นด้วยใจที่นิ่งๆ  จุดสว่างนั้นจึงค่อยๆขยายโตขึ้นมาแทนดวงเก่า ท่านจึงมองเข้ากลางจุดเล็กที่อยู่กลางดวงใส ก็ได้เห็นดวงใหม่ที่สว่างใสมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็เห็นกายในกาย ที่ซ้อนอยู่ภายใน จนกระทั่งถึง “ธรรมกาย” เป็นองค์พระนั่งสมาธิเกตุดอกบัวตูม ใสสว่าง
 
เมื่อท่านได้มาทบทวนสิ่งที่ท่านได้เข้าถึง ทำให้ท่านได้ทราบว่า การเข้าถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง โดยหน้าที่ของใจ 4 อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ต้องรวมหยุดนิ่งอยู่เป็นหนึ่งเดียว (เอกัคคตา) ต่อมาท่านจึงกล่าวสรุปไว้เป็นประโยคสั้นๆว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” และมีการรวบรวมวิธีการปฏิบัติสมาธิตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งลึกซึ้งไว้ในหนังสือ “คู่มือสมภาร” 1 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้
 
คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย
 
คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย
 
“ธรรมกาย” ในคัมภีร์เถรวาท 
 
            คำว่า “ธรรมกาย” มีปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน เฉพาะในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาท 2 มีคำว่า “ธรรมกาย” ปรากฏอยู่มากมาย กว่า 40 แห่ง อาทิ ในพระไตรปิฎก 3 ปรากฏอยู่ในพระสูตร 4 แห่ง, ในอรรถกามีปรากฏ 25 แห่ง,
 
ในฎีกาพระวินัยที่ชื่อว่า “สารัตถทีปนี กล่าวถึง “ธรรมกาย” ในฉบับภาษาบาลีประมาณ 6 แห่ง, ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวถึง “ธรรมกาย" 2  แห่ง, คัมภีร์มิลินทปัญหา 1 แห่ง มีตัวอย่างดังนี้
 
            “...ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ...เพราะคำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูติก็ดี พรหมภูติก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต...” 4
 
            “...นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์ ....นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ...” 5
             “...ชนทั้งหลายไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงแสดงพระธรรมกาย และความเป็นหน่อเนื้อรัตนะทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า...” 6
 
            “...ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อนฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อนฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว...” 7
 
 พระวัดปากน้ำรุ่นแรก
 พระวัดปากน้ำรุ่นแรก
 
“ธรรมกาย” ในคัมภีร์ต่างๆ
 
            คำว่า “ธรรมกาย” ยังปรากฏในแหล่งความรู้ต่างๆ อย่างน่าสนใจ อาทิ ในหนังสือ “ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3” กล่าวว่า ในศิลาจารึกหลักที่ 54 พ.ศ. 2092 ที่จารึกไว้เป็นภาษาไทยและมคธ มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวของพระธรรมกายไว้, ในหนังสือ “ปฐมสมโพธิกถา” ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระอุปคุตต์เห็นพระธรรมกาย นั่นคือ พระธรรมกายนั้นสามารถเห็นได้, ใน จารึกลานทอง กล่าวถึง “ส่วนสูงของพระธรรมกาย” ไว้ด้วย ฯลฯ
 
 
คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย
 
            ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย โดยมติมหาเถรสมาคม ได้จัดทำหนังสือ “คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย” 8 ซึ่งได้รวบรวม
 
วิธีการสอนสมาธิของสำนักปฏิบัติใหญ่ 5 สาย คือ พุทโธ อานาปานสติ ยุบพอง รูปนาม และสัมมาอรหัง ถือว่าเป็นการรับรองจากคณะสงฆ์ส่วนกลางว่า วิธีการสอนสมาธิของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นไปตามแนวสติปัฏฐาน 4 สมควรให้สามารถปฏิบัติได้เพื่อให้ถึงธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สัมมาปฏิปทามรรค เป็นต้น  
 
 พระวัดปากน้ำรุ่น 2
 
 พระวัดปากน้ำรุ่น 2
 
พระของขวัญศักดิ์สิทธิ์ด้วย “ธรรมกาย” 
     
     ในช่วงที่หลวงปู่วัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สนับสนุนการศึกษาของการคณะสงฆ์ จัดสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นที่มาของ “พระของขวัญวัดปากน้ำ” ซึ่งสิ่งยืนยันความศักดิ์สิทธิ์ของของวิชชาธรรมกายที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านได้เข้าถึง และ เป็นเครื่องตรึกระลึกนึกถึงบุญที่ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมร่วมกับท่าน รวมทั้งให้เป็นนิมิตหรือเป็นอุปกรณ์ในการทำสมาธิเพื่อเป็นพุทธานุสสติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพื่อปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัวด้วยนั่นเอง
 
12 กันยา วันครูวิชชาธรรมกาย
 
            ทุกๆ ปี ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันที่หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญบรรลุธรรม ศิษยานุศิษย์จากทั่วโลก จัดให้มีพิธีบูชาครูวิชชาธรรมกาย ด้วยการปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนา เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ ในปีนี้วันครูวิชชาธรรมกาย ครบรอบ 94 ปี ตรงกับวันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2554 ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี ได้จัดพิธีบูชาครูวิชชาธรรมกาย ระหว่างเวลา 9.00-18.30 น. โดยช่วงสายปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ช่วงบ่ายมีพิธีปิดแผ่นทองรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
 
จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
 
ข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
 
            จึงขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญทั้งในและต่างประเทศ รวมปฏิบัติบูชาแด่ครูบาอาจารย์ในวันดังกล่าว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.dhammakaya.net, www.dmc.tv หรือโทร. 02-831-1000
 
พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส 
วัดพระธรรมกาย
 
1 มูลนิธิธรรมกาย. คู่มือสมภาร. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พรินท์, 2545.
 
2 ธรรมทายาท. ธรรมกายในคัมภีร์เถรวาท. กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ตพริ้นติ้ง, 2543.
 
3มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก: พระสูตรและอรรถกถาแปล. พ.ศ. 2525.
 
4พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร เรื่อง วาเสฏฐะภารทวาชะ.
 
5พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธวรรคที่ 1 ปัจเจกพุทธาปทาน ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า.
 
 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน โสภิตวรรคที่ 14 อัตถสันทัสสกเถราปทานที่ 7 ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า 3 คาถา.
 
7 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เอกุโปสถวรรคที่ 2 มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทานที่ 7 บุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี.
 
8ศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย. คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย. นครปฐม:เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป, 2553.
 

http://goo.gl/GKGWj


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีถวายมหาสังฆทาน 10,000 กว่าวัด และ 323 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ ปีที่ 20 ครั้งที่ 168
      ชมรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่บ้านปิยวรารมย์ จัดพิธีตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง
      ธุดงคสถานพัฒนานิคม จัดพิธีบรรพชาสามเณร
      ธุดงคสถานอำนาจเจริญ จัดพิธีบรรพชาสามเณร
      วัดพระธรรมกาย มอบขนมปัง นมกล่อง อาหารแห้ง สนับสนุนกิจกรรมวันผู้สูงอายุท่าโขลงเปี่ยมสุข
      ศูนย์อบรมเยาวชนบางปะหัน จัดพิธีบรรพชาสามเณร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมและศูนย์อบรมเยาวชนเพชรบุรี จัดพิธีตัดปอยมผม และพิธีบรรพชาสามเณร
      พิธีตัดปอยผมโครงการอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 51
      ศูนย์อบรมเยาวชนบางปะหัน จัดพิธีตัดปอยผม
      DIRI มอบทุนการศึกษาประจำปีแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยโอทาโก้
      พระธรรมทูตวัดพระธรรมกาย ถวายบริขารแก่ผู้เข้าอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 30
      จังหวัดระนอง จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแด่คณะกรรมการและคณะครูผู้จัดสอบธรรมศึกษา ประจำปี 2566
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพนมสารคาม จัดปฏิบัติธรรมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related
พิธีถวายมหาสังฆทาน 10,000 กว่าวัด และ 323 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ ปีที่ 20 ครั้งที่ 168
  วัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ไ..
(26 เม.ย. 2567)    ชม 0 ครั้ง