ปกิณกธรรม สร้างวัดศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธธรรม

จงก้าวเดินต่อไปเถิดท่านเศรษฐี ข้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่งก็ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างก้าวเท้าไปหาพระบรมศาสดา ขอท่านจงก้าวเดินต่อไป https://dmc.tv/a12318

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
[ 5 ต.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18270 ]
 
 
สร้างวัดศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธธรรม

        "จงก้าวเดินต่อไปเถิดท่านเศรษฐี ข้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่งก็ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างก้าวเท้าไปหาพระบรมศาสดา ขอท่านจงก้าวเดินต่อไป"

 
 
 
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นำบริวารไปค้าขายที่กรุงราชคฤห์
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นำบริวารไปค้าขายที่กรุงราชคฤห์
 
        ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นำบริวารไปค้าขายที่กรุงราชคฤห์ ตกเย็นก็ไปถึงบ้านของราชคหเศรษฐีซึ่งเป็นสหายกันท่านเศรษฐีสังเกตเห็นสหายมัวสาละวันอยู่กับการสั่งงาน หุงข้าว ทำอาหาร ตกแต่งสถานที่ แต่ก็สั่งงานด้วยใบหน้าที่เบิกบานผ่องใส จึงเกิดความสงสัยว่า เพื่อนของเราไม่ให้การต้อนรับเราเหมือนที่เคยเป็น สงสัยจะมีงานมงคลเป็นแน่ จึงถามเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด

        ราชคหเศรษฐีบอกว่า บัดนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ท่านอนาถะพอได้ฟังเท้านั้นก็เกิดความปีติปราโมทย์ใจอย่างไม่มีประมาณ มหาปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ท่านถามสหายถึง 3 ครั้งสหายก็ได้บอกเรื่องอันเป็นมงคลนั้นให้ทราบถึง 3 ครั้งเช่นกัน ท่านเศรษฐีเปล่งอุทานว่า “อโหพุทโธ พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการยาก แต่พระองค์ก็ได้เสด็จอุบัติขึ้น”

        ท่านถามสหายว่า “ตอนนี้พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ไหน เราจะไปเฝ้าพระองค์เดี๋ยวนี้แหละ” สหายเห็นว่า ท่านเศรษฐีเพิ่งจะเดินมาถึง ยังไม่ได้พักผ่อนเลย จึงกล่าวทัดทานว่า “พระองค์ประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน ขอให้ท่านผักผ่อนก่อนเถิดพรุ่งนี้ค่อยว่ากัน” คืนนั้นท่านเศรษฐีมีจิตส่งไปถึงพระพุทธเจ้าตลอดเวลา ไม่มีความคิดถึงเรื่องการทำมาค้าขาย หรือแม้กระทั่งอาหารเย็นก็ไม่ยอมรับประทาน เพราะท่านมีปีติเป็นภักษาหาร จึงขึ้นไปพักผ่อนบนปราสาทชั้นที่ ๗ ด้วยสาธยายคำว่า “พุทโธ พุทโธ พุทโธ” ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์และหลับไหด้วยความอ่อนเพลีย

        เมื่อปฐมยามล่วงไป ท่านเศรษฐีตื่นขึ้นมาด้วยใจที่ผูกพันกับพระพุทธเจ้า ท่านได้เห็นแสงสว่างประดุจประทีปพันดวงลุกโพลงปรากฏขึ้นในกลางตัว แสงสว่างนั้นสว่างกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ท่านเกิดปีติมาก จึงอยากจะเห็นพระบรมศาสดาเร็วๆ แต่เมื่อลืมตาสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า จึงรู้ว่าปฐมยามเพิ่งจะล่วงไปเท่านั้น ยังไม่ถึงเวลาเช้าเลย จึงล้มตัวลงนอนต่อ พักผ่อนได้ไม่นานก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาอีก แต่พอสังเกตดูดวงจันทร์ก็รู้ว่ามัชฌิมยามเพิ่งจะผ่านพ้นไปจึงล้มลงนอนอีกท่านเศรษฐีตื่นขึ้นมาในเวลาใกล้รุ้ง เนื่องจากท่านมีความปีติมาก ไม่อาจรอคอยจนถึงวันรุ่งขึ้นได้จึงตัดสินใจไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาทันที

 
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
 
        ตามปกติแล้วคฤหาสน์ของราชคหเศรษฐีจะปิดประตูลงกลอนอย่างดี และจะถูกเปิดอีกครั้งในรุ่งอรุณของวันใหม่ แต่ด้วยพุทธนุภาพเหล่าเทวดาประจำบ้านทั้งหลายเห็นความตั้งใจอย่างแรงกล้าของท่านเศรษฐี จึงประชุมกันว่า ”มหาเศรษฐีท่านนี้ออกไปเพื่อจะเข้าเฝ้าบุคคลผู้เลิศในโลก นับเป็นสิ่งที่อนุโมทนายิ่งนัก ควรแล้วที่พวกเราจะส่งเสริมให้ได้สมหวัง” จึงบันดาลให้ประตูปราสาทเปิดออกได้อัศจรรย์

        ในขณะที่เดินทางไปนั้น หนทางก็มืดมิดและมีอมนุษย์ออกหากินมากมายในตอนกลางคืน เมื่อพวกอมนุษย์ปรากฏกายให้เห็น ฝูงสุนัขก็ส่งเสียงร้องเห่าหอน ท่านเศรษฐีไม่เคยออกจากบ้านตามลำพังในยามค่ำคืน จึงเกิดอาการขนพองสยองเกล้า แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธเจ้า ความสว่างก็ปรากฏขึ้นมาอีก ความกลัวจึงค่อยๆหายไป พอเดินไปก็วิตกกังวลว่าจะถูกอมนุษย์ทำร้าย จึงเกิดความกลัวขึ้นมาอีก แต่อมนุษย์ที่เป็นสัมมาทิฐิได้ส่งเสียงให้กำลังใจว่า “จงก้าวเดินต่อไปเถิดท่านเศรษฐี ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่งก็ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างก้าวเท้าไปหาพระบรมศาสดา ขอท่านจงก้าวเดินต่อไปเถิด”

 
 
สุทัตตะ เข้ามาเถิด ท่านอย่าได้กลัวไปเลย ตถาคตกำลังรออยู่
สุทัตตะ เข้ามาเถิด ท่านอย่าได้กลัวไปเลย ตถาคตกำลังรออยู่
 
        ขณะท่านเศรษฐีเดินเข้าไปในป่าช้านั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ไกล พระองค์ตรัสทักทายว่า “สุทัตตะ เข้ามาเถิด ท่านอย่าได้กลัวไปเลย ตถาคตกำลังรออยู่” เมื่อได้ยินพระพุทธองค์ตรัสเรียกชื่อเดิมของตน ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็ยิ่งปีติใจเป็นอันมาก จึงเข้าไปถวายบังคมแทบเบื้องพระบาท พร้อมทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขดีหรือพระเจ้าข้า” “สุทัตตะ พรามณ์ผู้ดับกิเลสได้แล้วไม่ติดอยู่ในกาม เป็นผู้เยือกเย็น ย่อมอยู่เป็นสุขตลอดเวลา...” จากนั้นพระองค์ได้ตรัสธรรมเทศนาจนท่านเศรษฐีได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
 
 
        ต่อมาเมื่อท่านกลับมาที่บ้านเกิด จึงเที่ยวตรวจดูสถานที่ต่างๆในเมืองสาวัตถีว่า มีที่ใดสมควรเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งต้องเป็นสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวกสบาย ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไปนัก เพื่อที่ผู้คนจะได้ไปกราบนมัสการได้โดยสะดวก อีกทั้งกลางวันก็ไม่จอแจพลุกพล่าน ในยามกลางคืนก็เงียบสงัดเป็นสถานที่ที่ควรประกอบความเพียร เมื่อตรวจดูแล้วก็เห็นว่า พระอุทยานของเจ้าเซตเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างวัด
 
 
สั่งคนให้ทำเกวียนบรรทุกเงินออกมาปุเรียงกันให้เต็มพื้นที่
สั่งคนให้ทำเกวียนบรรทุกเงินออกมาปุเรียงกันให้เต็มพื้นที่
 
        ท่านเศรษฐีจึงไปซื้อที่ดินจากเจ้าเซต แต่เจ้าเซตปฏิเสธที่จะขาย จึงตั้งราคาเพื่อให้เศรษฐีหมดอารมณ์ที่จะซื้อต่อไปว่า “ท่านคหบดี หากท่านต้องการที่ดินผืนนี้จริงๆ จงเอาเงินมาปูเรียงจนเต็มพื้นที่เถิด” ท่านเศรษฐีฟังแล้วก็ไม่ได้หวั่นไหวที่จะซื้อที่ดินผืนนั้น แต่กลับรู้สึกปีติที่จะได้สร้างวัด ท่านสั่งคนให้ทำเกวียนบรรทุกเงินออกมาปุเรียงกันให้เต็มพื้นที่ ขณะปูใกล้จะเต็มพื้นที่ เจ้าเชตได้เห็นความตั้งใจมั่นเช่นนั้น ก็บังเกิดความเลื่อมใส เพราะนึกไม่ถึงว่าจะมีผู้มีจิตใจเด็ดเดี่ยวอย่างนี้ในโลก จึงบอกว่า “พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านจงให้โอกาสแก่เราบ้างเถิด เราขอร่วมบุญตรงซุ้มประตู”
 
        ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีตอบตกลง แล้วก็ลุยสร้างวัดทันที หมดงบประมาณไป ๕๔ โกฏินอกจากนี้ยังได้สร้างซุ้มประตูหน้าวัด โดยใช้ชื่อวัดว่า “วัดพระเชตวัน” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าเชตกุมารอีกด้วย แต่ด้วยความเป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมของท่าน แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อใดที่กล่าวถึงวัดพระเชตะวัน ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้สร้างนอกจากนี้ ท่านยังสร้างวิหารหลายหลังไว้ในวัดอีกทั้งก่อสร้างกำแพง ซุ้มประตู ศาลาหอฉัน โรงไฟ วัจกุฎี ที่จงกรม บ่อน้ำ สระโบกขรณี มณฑป และ สถานที่ต่างๆจนเป็นที่พอใจ
 
        เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย พระบรมศาสดาได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการรับถวายวัดพระเชตวันทรงกระทำอนุโมทนากับท่านมหาเศรษฐีว่า “วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อน และสัตว์ร้าย ป้องกันงู” และยุงกันลมกันฝน นอกจากนั้น "วิหารยังป้องกันแดดอันแรงกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อให้เห็นแจ้ง พระพุทะเจ้าทุกๆพระองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นทาสอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายเถิด”
 
        จะเห็นได้ว่า การทำบุญสร้างวัดนั้น ถือว่าเป็นบุญใหญ่ เป็นการขายงานพระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไป ให้เป็นที่พึ่งต่อชาวโลกอีกทั้งเป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาให้ดำรงคงอยู่คู่โลกตลอดไป เราทั้งหลายควรยึดเอาท่านอนาบิณฑิกเศรษฐีเป็นแบบอย่าง ขณะที่เราทำงานใหญ่ มุ่งจะขยายสันติภาพไปทั่วโลก ก็ต้องมีศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งในช่วงนี้ เรามีบุญพิเศษคือ สร้างอาคารพระผู้ปราบมาร เพื่อเป็นที่พักสงฆ์หลายพันรูป ในขณะเดียวกันก็ก็มีการก่อสร้างวัด สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมในแต่ละจังหวัด และสร้างศูนย์สาขาไปทั่วโลก ซึ่งลูกพระธัมฯ ต้องช่วยกันอย่างเต็มที่เพราะการสร้างวัดหรือศูนย์ เพื่อเข้าถึงพระธรรมกายนั้น นอกจากจะได้ผลบุญในปัจจุบันนี้แล้ว ภพชาติต่อไปในเบื้องหน้า เราจะได้ทิพยสมบัติอันโอราฬเหมือนกับท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี และหมั่นบอกตัวเองเสมอว่า เราจะต้องเป็นมหาเศรษฐีคู่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปทุกภพทุกชาติตราบวันถึงที่สุดแห่งธรรม
 
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต    ป.ธ. ๙
          พระมหาวิริยะ      ธมฺมสารี     ป.ธ. ๙
 
ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
 

http://goo.gl/00xDb


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เพลงวันสงกรานต์
      ทบทวนพระธรรมเทศนาหลวงพ่อธัมมชโย วันคุ้มครองโลก
      สารมุทิตา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิมาลาลา เซเกรา ศรีลังกา เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากประธานสหพันธ์พุทธนานาชาติ อินเดีย เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากสมเด็จสังฆนายกบังคลาเทศ องค์ที่ 29 แห่งบังคลาเทศ เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2567
      คำขวัญวันเด็ก 2567 รวมคำขวัญวันเด็กทุกปี
      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย เนื่องในวันเข้าพรรษา
      พระประวัติ "สมเด็จพระสังฆราช” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      โทษภัยของบุหรี่ ทำไมต้องมีกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่
      วัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาชน ร่วมสวดธรรมจักร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ในเวลา 19.00 น. พร้อมกันทั่วโลก
      โครงการธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [ประวัติความเป็นมาของโครงการ]
      วันสงกรานต์ 2567 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์