พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก

การที่เราเกิดมาอยู่ในพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องที่โชคดี ทำให้เรารู้เป้าหมายในชีวิต และรู้ว่าเราเกิดมาทำไมเมื่อเกิดปัญหาก็สามารถนำหลักธรรมใช้แก้ปัญหาในชีวิตได้ https://dmc.tv/a16611

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 11 ก.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]

ข้อคิด รอบตัว

 
พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก



พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
เรียบเรียงมาจากรายการ ข้อคิด รอบตัว ที่ออกอากาศทางช่องDMC





ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็น
อกาลิโก  ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา
เอหิปัสสิโก  ชักชวนมาดูและทนทานต่อการพิสูจน์
หลักธรรมของพระองค์เป็นของสากล ที่นอกจากเราชาวพุทธ
ทุกคนบนโลกสามารถมาศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง


 
พระพุทธศาสนาแบ่งโดยรวมมีกี่นิกาย?

พระพุทธศาสนาแบ่งหลักๆเป็น 3 นิกาย
  
1.เถรวาท
 
    เป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาลต่อเนื่องมา ถ้ามองอีกแง่ก็เป็นแบบอนุรักษ์นิยม เช่น พระวินัยของสงฆ์ 227 ข้อในพุทธกาลบัญญัติไว้อย่างไรเราก็ยังคงรักษาไว้เช่นนั้น คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ในพระไตรปิฎกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์เราก็รักษาจนถึงปัจจุบันแบบเดิม
 
   
พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
 หัวใจที่สำคัญคือพระพุทธเจ้า ทุกนิกายนับถือพระพุทธเจ้าเหมือนกัน
 
2.มหายาน
 
     ไปเจริญทางอินเดียตอนเหนือข้ามไปจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม เป็นต้น ลักษณะเอกลักษณ์ของมหายานคือ เน้นการเป็นพระโพธิสัตว์ โปรดสรรพสัตว์ต่างๆ ไม่สนับสนุนไม่ให้ตั้งเป้าหมายเป็นพระอรหันต์  ซึ่งต่างจากของเถรวาทที่สนับสนุนให้เป็นพระอรหันต์ พระปัจเจกพระพุทธเจ้าหรือแม้กระทั่งเป็นพระพุทธเจ้า เพราะถือว่าหลุดพ้นไปแค่เฉพาะตัว ต้องการให้มีเมตตาและโปรดสรรพสัตว์ให้มากๆ
 
3.วชิรญาณ , ตันตรยานหรือมนตรยาน 
 
     เจริญรุ่งเรืองที่ทิเบตและข้ามไปที่มองโกเลียซึ่งเป็นที่น่าแปลกเพราะเป็นประเทศที่อยู่ห่างกันมาก สาเหตุเพราะกษัตริย์โบราณ คือ เจงกิสข่านผู้สถาปนาอาณาจักรมองโกลขึ้นมาได้  เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาแบบทิเบตจึงนำศาสนามาสู่แคว้นของตน  ซึ่งขณะนั้นอาณาเขตของท่านกว้างขวางมากแต่ภายหลังจีนกลับฟื้นคืนสู่ความเป็นเอกราชเหมือนเดิม 
 
     อาณาจักรมองโกลจึงเล็กลงกระทั่งเป็นมองโกเลียในปัจจุบัน  จุดเด่นของวัชรญาณจะเน้นว่าลามะองค์สำคัญจะมีการลงมาจุติใหม่ถ้าภาษาอังกฤษ เรียกว่า Living Buddha คือ เป็นผู้ที่บรรลุแล้วกลับชาติมาเกิดถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่กลับชาติมาเกิด เช่น เมื่อดาไล ลามะมรณภาพก็ยังไม่ได้ตั้งองค์ใหม่ จะต้องรอเวลาสืบว่าท่านกลับชาติลงมาเกิดที่ไหน เด็กที่ไหนบ้างที่เกิดได้จังหวะเวลาหลังจากดาไล ลามะมรณภาพไปแล้ว และต้องมีการสุ่มว่าคุนเคยกับเครื่องใช้ของท่านดาไล  ลามะมาสอบถามแล้วตอบตรงกันได้ เมื่อได้บุคคลที่คิดว่าใช่จะแต่งตั้งดาไล ลามะ ตั้งแต่อายุยังน้อยและให้ศึกษาเติบโตขึ้นมาเป็นดาไล ลามะ ต้องเป็นตลอดชีวิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  เพราะเป็นองค์อวตารขององค์เดิมซึ่งเป็นความเชื่อถือของชาววัชรญาณและมีคำสอนที่ลึกลับมากมายถึงมีการเรียกว่ามนตรญาณ
 
     เราอาจจะมองว่าศาสนิกชนในทิเบตกับมองโกเลียมีน้อย  แต่อิทธิพลในโลกมีไม่น้อยเพราะหลังจากเกิดความผันผวนทางการเมืองในทิเบต ดาไล ลามะพาพระลามะและชาวทิเบตอพยพมาอยู่ที่อินเดีย  ที่ศูนย์อพยพใหญ่ของชาวทิเบตในอินเดีย พระลามะจึงกระจายไปทั่ว แต่ต่างกับการที่พระไทยไปสร้างวัดต่างแดน    เพราะวัดไทยไปสร้างในแหล่งชุมชนชาวไทยเพื่อรองรับกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ  แต่ชาวทิเบตกับมองโกเลียมีน้อยมาก  ไปสร้างวัดทิเบตไม่สามารถอยู่ได้ด้วยชาวมองโกลหรือชาวทิเบตได้  จึงจำเป็นต้องเผยแผ่ศาสนาสู่คนท้องถิ่นให้ได้ ถ้าเผยแผ่ไม่ได้วัดก็อยู่ไม่ได้ เมือเวลาผ่านมา 40-50 ปีพระพุทธศาสนาแบบทิเบตกลายเป็นพระพุทธศาสนาที่ชาวโลกรู้จักมาก
 
 
ถึงจะมีหลายนิกาย แต่พุทธศาสนาก็ยังมีแก่นที่เหมือนกันใช่หรือไม่?
 

พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
พระพุทธศาสนาไม่เบียดเบียนทำร้ายเพื่อนมนุษย์
 

      หัวใจที่สำคัญคือพระพุทธเจ้า ทุกนิกายนับถือพระพุทธเจ้าเหมือนกัน เราคนไทยเมื่อไปวัดจีน วัดเกาหลีเห็นพระพุทธรูปเราก็กราบไหว้ พระพุทธเจ้าคือศูนย์รวมของชาวพุทธทุกนิกายทั้งหมด ล้วนแล้วแต่เป็นรูปพระพุทธเจ้าเหมือนกัน พระธรรมคำสอนของพระองค์อยู่บนหลักอหิงสา คือ ไม่เบียดเบียนกัน
 
     จะเป็นพระพุทธศาสนานิกายไหนก็ไม่สนับสนุนให้เผยแผ่ศาสนาด้วยการเบียดเบียนทำร้ายเพื่อนมนุษย์ทั้งสิ้น  ไม่มีการบังคับใครจะนับถือหรือไม่ก็ตามแต่ทุกอย่างเป็นแบบธรรมชาติ  พระพุทธศาสนาจึงไม่เคยมีสงครามศาสนาเกิดขึ้นเพราะเป็นเอกลักษณ์ขององค์พระศาสดาที่พระองค์ไม่สนับสนุน  และทุกคนต่างตั้งใจปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นให้พ้นจากกิเลส ให้พ้นจากทุกข์ เป้าหมายคือมุ่งสู่พระนิพพานและบรรลุพระนิพพานเช่นเดียวกันทั้งหมด
 

อะไรดึงดูดให้คนทั้งโลกหันมาสนใจพุทธศาสนา?
 

พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
ปฏิบัติและสามารถเข้าถึงด้วยตนเอง
 
 
      ศาสนาในยุคก่อนเป็นเรื่องของความเชื่อ คือ ต้องเชื่ออย่างเดียว ห้ามสงสัย ศาสนาหลักในโลกคือคริสต์และอิสลาม  ด้านตะวันตกก็เน้นเรื่องความเชื่อห้ามสงสัยถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดสงสัยถือว่าเป็นบาป  แค่คิดว่าพระเจ้ามีตริงหรือไม่ก็บาปแล้วซึ่งทุกเรื่องห้ามสงสัยทั้งหมด แต่พระพุทธศาสนาไม่ใช่
 
      พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า " อย่าเพิ่งเชื่อ ตรองให้ดี ปฏิบัติให้ดี รู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงเชื่อ   เอหิปัสสิโก เธอจงมาพิสูจน์เถิด " ซึ่งเป็นหนึ่งในบทสรรเสริญพระธรรมคุณ  เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่คราวที่ต้องแสดงพระธรรมเทศนา ถามพระสารีบุตรว่า "สารีบุตรท่านเชื่อหรือไม่ที่ตถาคตกล่าว" พระสารีบุตรตอบว่า "ขอคิดดูก่อน" พระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญว่า "เป็นสิ่งที่ถูกต้อง" ต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลและทุกคนปฏิบัติสามารถเข้าถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าสอนเราได้ทุกคน
 
    ถ้าเป็นศาสนาอื่นเป็นเรื่องที่ห้าม ห้ามสงสัยต้องเชื่อแล้วความเชื่อนั้นจะมาจากผู้ยิ่งใหญ่คือประมุขของศาสนาเท่านั้น  ศาสนิกชนทั่วไปต้องทำหน้าที่คอยเชื่อประมุขพูดอย่างไรต้องเชื่อตามนั้น  แต่พระพุทธศาสนาบอกว่ายังไม่ต้องเชื่อ  เราปฏิบัติรู้แจ้งเห็นจริงสามารถเข้าถึงด้วยตนเอง  เพราะเป็นสัจธรรมความจริงถึงตอนนั้นค่อยเชื่อซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในพระพุทธศาสนา 
 
      ทำให้คนในปัจจุบันที่ความรู้มากขึ้นถูกฝึกคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น  เมื่อคิดไปคิดมาคนพันกว่าล้านคนประกาศเป็นคนไม่มีศาสนา  เพราะศาสนาเก่าของตนบอกให้เชื่อก็ต้องเชื่อรู้สึกว่าไม่มีเหตุมีผล  และคนจำนวนมาก็แสวงหาว่าศาสนาไหนที่จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกให้ตนเองได้  จึงได้พบคำตอบในพระพุทธศาสนา คนที่มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดที่เป็นระบบจะยิ่งเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้มาก  ความเห็นและความรู้สึกของบุคคลชั้นนำของโลกที่มีต่อพระพุทธศาสนา
 

พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
Carl G. Jung ผู้ศึกษาศาสนาอื่นอย่างละเอียดและลึกซึ้ง
 
 
        ท่านแรก H.G. Wells นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นนักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ นักประวัติศาสตร์ที่กว้างมาก ชาวอังกฤษ กล่าวไว้ว่า
" พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลกและวัฒนธรรมที่แท้จริง "

     ท่านที่สอง Max Muller ศาสตราจารย์ด้านภาษา เกี่ยวกับดิคชันนารี ตำราภาษาสันสกฤตโบราณ และเป็นทีรู้จักในแวดวงนักภาษาศาสตร์ ชาวเยอรมัน กล่าวไว้ว่า
" ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุด ที่โลกเคยรู้จักมา "

       อีกท่านหนึ่ง Carl G. Jung นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงก้องโลก ชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ที่ศึกษาศาสนามากมายทั้งที่ตนเองถือศาสนาคริสต์  แต่พยายามศึกษาศาสนาอื่นอย่างละเอียดและลึกซึ้ง  กล่าวไว่ว่า

" ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็นมา  ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม(ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล "
 
    แม้แต่นักแสดงอย่าง Richard Gere ดาราที่ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 60 ที่ดังมากก็ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง หรือแม้กระทั่ง Steven Seagal พระเอกนักบู๊ฮอลลีวู้ดก็นับถือศาสนาและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งมีอีกมากมายแต่นี่เป้นเพียงแต่ส่วนหนึ่งของความคิดเห็นของผู้ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา
 

อะไรที่ทำให้คนทั้งโลกเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา?


     ทาสของความไม่เบียดเบียนและความสงบ เมื่อได้เข้ามาศึกษาเราจะสัมผัสได้ว่า ทุกอย่างเป็นไปอย่างสบายๆ ไม่มีการบังคับ เพราะคนส่วนใหญ่ทางอเมริกาและยุโรปจะกลัวเรื่องการ Convert คือ การมาจูงใจให้เปลี่ยนศาสนาเหมือนมาล้างสมองแต่พระพุทธศาสนาไม่ใช่ ใครที่ต้องการรู้ก็มาศึกษาและเรียนรู้ เมื่อลงมือปฏิบัติก็ได้ผลตามจริง สวดมนต์ นั่งสมาธิ(Meditation)ทำให้ใจเป็นสุขสบายแบบธรรมชาจิไม่มีการบีบบังคับ  ให้ทุกคนตระหนักรู้ด้วยตนเองซึ่งเหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ชอบอิสระและมีความคิด  มีแหล่งข้อมูลให้ศึกษามากมายใครจะมาบังคับให้เชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นไปได้ยาก  เพราะคนที่มีความรู้คนยุคใหม่ต้องคิดตรึกตรองเข้าใจด้วยตนเอง
 

การทำสมาธิ มีส่วนทำให้ทุกคนหันมาสนใจพระพุทธศาสนาใช่หรือไม่?
 

พุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
นั่งสมาธิแล้วเกิดความสบายใจมีความสุขใจ


      เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญ ในอเมริกามีชาวอมเริกันที่นั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอเกิน 10 ล้านคนในทุกวันและไม่ได้เป็นชาวพุทธตามทะเบียนบ้าน ไม่ใช่ชาวพุทธโดยกำเนิด แต่เกิดในศาสนาอื่นมาศึกษาเพราะสนใจซึ่งเกินกว่าครึ่งประเทศอเมริกาไปแล้ว  ที่คนส่วนใหญ่สนใจนั่งสมาธิกันมากขึ้นไม่ใช่เรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ  เฉพาะกลุ่มแต่เป็นเรื่องชาวอเมริกันกระแสหลักไปแล้วที่สนใจเรื่องสมาธิ  สาเหตุที่เขาสนใจมาปฏิบัติเพราะเมื่อปฏิบัติแล้วเห็นผล นั่งสมาธิแล้วเกิดความสบายใจมีความสุขใจ หลุดจากปัญหาความเครียด ความสับสน
 
      การตัดสินใจไม่ได้กับชีวิตที่วุ่นวายในปัจจุบัน  ข้อมูลก็ไหลทะลักท่วมตัวเหมือนลอยไปในทะเลข้อมูลลอยไปกับกระแสกดดันต่างๆมากมาย  แต่เมื่อได้ปฏิบัติธรรมก็คล้ายกับคนที่เกาะขอนไม้ลอยมาเจอกับเกาะก็รู้สึกสบายใจที่ได้ขึ้นฝั่ง  ไม่ต้องลอยไปลอยมาตามกระแสน้ำอีกต่อไป   เมื่อมาพบหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาความรู้สึกของคนที่เคว้งคว้าง  ไม่รู้จะไปทางไหนแต่มาพบคำตอบในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   
 
     ผู้แผยแผ่ศาสนาพุทธมีบุคลิกไม่เหมือนศาสนาอื่น  เพราะศาสนาอื่นพยายามดึงคนมาเป็นสมาชิก ให้ตัดทิ้งของเดิมแล้วไปอยู่ในศาสนาของเขา  แต่ตั่งแต่ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเปิดกว้าง  ใครสนใจก็มาศึกษาพระพุทธศาสนาตามความสมัครใจ  เมื่อเข้ามาศึกษาแล้วเมื่อพบใครที่เดือดร้อนต้องการช่วยเหลือสามารถช่วยได้  เหมือนกับปัจจุบันที่ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา  แต่มาศึกษาคำสอนพุทธศาสนาและนำไปปฏิบัติ  หัวใจหลักของศาสนาคือหลักธรรมปฏิบัติ การทำสมาธิและพระปริยัติธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นเหตุเป็นผลกัน  ยิ่งคนฉลาดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งยอมรับในคำสอนของพระพุทธเจ้ามากเท่านั้น
 

เราควรทำตัวอย่างไรให้เป็นต้นแบบของชาวพุทธที่ดี?


      ผู้ที่ปลูกศรัทธาให้กับชาวโลกต้องปฏิบัติทำให้ตนเองเป็นต้นแบบ เพราะไม่ใช่เพียงแค่ผู้เผยแผ่ศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมถึงเราชาวพุทธทุกคนด้วย คนที่เข้ามาศึกษาใหม่เมื่อเห็นว่าเรามาจากประเทศไทย  เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาทุกคนก็อยากรู้อยากเห็นว่าบุคลิกที่ดีของชาวพุทธเป็นอย่างไร ดังนั้นเราต้องมีเมตตาดำเนินชีวิตด้วยทาน ศีล ภาวนา เอื้อเฟื้อต่อสรรพชีวิตทั้งปวง มีน้ำใจต่อกัน ไม่เบียดเบียนใครและตั้งใจทำภาวนาสวดมนต์สม่ำเสมอ นี้คือต้นแบบชาวพุทธที่ดีให้ชาวโลกได้เห็น ยิ่งเป็นผู้เผยแผ่ศาสนายิ่งต้องทำให้ดียิ่งกว่า
 
 
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอพุทธศาสนาในสายตาชาวโลก
ชมวิดีโอพุทธศาสนาในสายตาชาวโลก   Download ธรรมะพุทธศาสนาในสายตาชาวโลก



http://goo.gl/UJJgXA


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related