วุฒิธรรม (คุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม)

วุฒิธรรม หรือ วุฒิ 4 ธรรมหมวดนี้ ในบาลี เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฒิ (ปัญญาวุฒิธรรม) คือ เพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา https://dmc.tv/a7826

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 26 ส.ค. 2553 ] - [ ผู้อ่าน : 18378 ]
 
 
    วุฒิธรรม หรือ วุฒิ 4 ธรรมหมวดนี้ ในบาลี เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฒิ (ปัญญาวุฒิธรรม) คือ เพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา หรือที่เรารู้จักธรรมหมวดนี้ในชื่อสั้นๆว่า วุฒิ 4 และอธิบายความหมายโดยมุ่งเน้นให้คนทั่วไปเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน จึงจะแสดงความหมายแบบง่ายๆ ไว้ 4 ประการด้วยกันดังนี้
 
 
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้เป็นต้นแบบในยุคสมัยนี้ซึ่งหาได้ยากยิ่งนัก
 
1.สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ) หมายถึงการคบคนดีมีความสามารถ “หาครูบาอาจารย์ที่ดีให้พบ” ครูผู้รู้ ผู้ทรงคุณงามความดี มีความประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ การเลือกครูดีนั้น ต้องพิจารณา 2 เรื่องใหญ่เป็นสำคัญ คือ ต้องพิจารณาจากการมีความรู้จริงและการเป็นคนจริง เราจึงจะแน่ใจได้ว่าท่านจะสามารถสอนได้จริงทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนเพราะครูคือต้นแบบ และต้องเป็นต้นแบบที่ดี สมบูรณ์พร้อมในทุกด้านซึ่งหาได้ยากยิ่งนัก
(ข้อเตือนใจ : เลือกคบคนให้เอาถูกต้องอย่าเอาถูกใจ, เวลามองคนให้มองที่ข้อดี)
 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูผู้เป็นต้นแบบในสมัยพุทธกาล
 
2.สัทธัมมัสสวนะ (ฟังธรรม) หมายถึง “ฟังคำสอนครูบาอาจารย์ให้ชัด” เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว สิ่งสำคัญอันดับที่สองก็คือ ตั้งใจฟังคำสั่งสอนของท่าน เอาใจใส่เล่าเรียน
(ข้อเตือนใจ : ไม่มีทิฎฐิ ไม่อวดเก่ง น้อมรับฟังคำของท่านโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น)
 
 
ตั้งใจฟังคำสอนของครูบาอาจารย์
 
3.โยนิโสมนสิการ (ไตร่ตรองธรรม) หมายถึง “ตรองคำครูบาอาจารย์ให้ลึก” เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว ได้ฟังคำครูชัดเจนทำใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาให้เห็นเหตุผลคุณโทษในสิ่งที่ได้เล่าเรียนสดับฟังนั้น จับสาระที่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
 (ข้อเตือนใจ : ให้รู้จักไตร่ตรองและเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกัน หาเหตุและเชื่อมโยงไปหาผล)
 
 
ตรองคำครูบาอาจารย์ให้ชัดเจน รู้จักพิจารณา
 
4.ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) หมายถึง “ทำตามครูบาอาจารย์ให้ครบ” ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฎิบัติธรรมถูกหลัก สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน, ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับธรรมข้ออื่นๆกลมกลืนกันในหลักใหญ่ที่เป็นระบบทั้งหมด, ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม
(ข้อเตือนใจ : ศึกษาให้ดี กล้าลงมือทำ พร้อมนำข้อบกพร่องมาแก้ไข)
 
 
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ธรรม 4 ประการนี้ เมื่อเจริญ ปฏิบัติ ทำให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่อการบรรลุอริยผลได้ทุกขั้นจนถึงอรหัตตผล
 
 
 
 จะเห็นได้ว่าต้นแบบหรือว่าแบบอย่างที่ดีนั้นมีมากมาย ซึ่งเราสามารถเลือกนำมาประพฤติ ปฏิบัติหรือลงมือกระทำตามแบบอย่างที่ดีเหล่านนี้ได้
 
 
“วุฒิธรรม 4 ประการ” คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบไว้เป็นมรดกทางธรรมให้แก่เหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อเป็นหลักวิชาในการดำเนินชีวิต ที่เราจะได้ศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางโลกและทางธรรม ยุคใด สมัยใดก็สามารถศึกษาได้ ขอเพียงแต่เรามีความตั้งใจจริงในทุกๆ เรื่อง แล้วลงมือปฏิบัติอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ความสุขและความเจริญย่อมบังเกิดขึ้นกับตัวเราอย่างแน่นอน
  
รับชมวิดีโอ โครงการอบรมพระ 1 แสนรูปเข้าพรรษา

http://goo.gl/7J2vm


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล